Home Page
samgler connection members information discuss library misc. web board contact us

ที่มาของมุขไปบางเขน




พอดีผมไปเจอกระทู้ใน pantip.com เกี่ยวกับประวัติการเมืองที่เกี่ยวกับแก๊กของคุณ ป. จากตอน วายร้ายแห่งนครหลวง ที่จับผู้ร้ายได้แล้วบอกว่า -ไปบางเขน-- ผมถามแม่ดูท่านบอกว่าเป็นการฆ่าทิ้ง รมต.ในยุค 2490 ที่ตรงปัจจุบันคือ ตึก SCB park !! น่ากลัวจริงๆ ไม่ใช่เพราะว่า สน.บางเขน ตร. ดุแบบที่เข้าใจกันนะครับ )) แม่ผมบอกว่าคำว่าบางเขน จริงๆแล้วหมายถึงตรงนั้นหาใช่แถวสถานีรถไฟหรือหน้าวัดพระศรี อย่างที่ถือกันในปัจจุบันไม่ เห็นว่าน่าสนใจมากๆ เป็นเกร็ดความรู้สำหรับนักอ่านรุ่นหลังๆจะได้รู้กันเลยคัดมาฝากครับ

นายตี๋ (tee_mdcu52@yahoo.com)


อีกสามวันต่อมาก็มีคนพา ดร.ปรีดีเข้ากรุงเทพฯ และในวันที่ 26 ก.พ. 2491 ดร.ปรีดี พร้อมด้วยเสรีไทยและทหาร เรือบางส่วนก็นำกำลังเข้ายึดที่ทำการกระทรวงการคลังที่ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ยึดกรมประชาสัมพันธ์เพื่อ ออกข่าวปลดจอมพล ป.ออกจากตำแหน่งและแต่งตั้งนายดิเรก ชัยนามขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน

จอมพล ป.ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามกบฏครั้งนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งนายทหารผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการปราบกบฏ ครั้งนี้ คือ จอมพลสฤษด์ ธนะรัชต์ ซึ่งขณะนั้นน่าจะมียศเป็นพลโท โดยเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์

กำลังหลักของ ดร.ปรีดี ในขณะนั้นไม่เพียงพอที่จะต่อต้านการปราบปรามของทหารได้ โดยเฉพาะการนำรถถัง เข้ามาสนับสนุนการปราบปรามโดยการขับรถถังชนประตูวังเข้าไป (ภายหลังมีการทำพิธีขอขมาที่ได้พังประตูวัง เข้าไปด้วย ไม่แน่ใจว่าผู้ขับรถถังคนนั้นจะชื่อประภาส จารุเสถียร ที่ขณะนั้นเป็นร้อยเอกอยู่หรือเปล่า ถ้าใครมีข้อ มูลชัดเจนช่วยยืนยันหรือแก้ไขด้วย) การก่อการจบลงภายในวันเดียว เพราะไม่มีกำลังหนุนมาช่วย จากบันทึกของลูกชายจอมพล ป.กล่าวว่า ความ จริงแล้วมีการเตรียมการกำลังนาวิกโยธินจากสัตหีบเข้ามาเพิ่มเติมด้วย แต่ไม่สามารถนำกำลังข้ามแม่น้ำบางปะ กงเข้ามาได้ทันเวลา (ตอนนั้นยังไม่มีสะพานบางปะกง) เพราะเป็นช่วงน้ำลง

ภายหลังการพ่ายแพ้ ดร.ปรีดี ได้หนีลงเรือหลบหนีไปได้ โดยไปซ่อนตัวอยู่ที่บ้านเพื่อนคนหนึ่งใน กทม.อยู่ถึง 5 เดือน จนถึงเดือนสิงหาคม 2492 จึงได้ลักลอบเดินทางโดยเรือขนส่งน้ำมันออกทะเลไปสิงคโปร์ และต่อไปฮอ่งกง ก่อนจะเข้าไปลี้ภัยอยู่ในจีน โดยขึ้นบกที่เมืองชิงเตา ซึ่งตอนนั้นกองทัพแดงของประธานเหมายึดได้หมดแล้ว (ประกาศสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 1 ตุลาคม 2492 ) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนก็ได้ต้อน รับในฐานะอาคันตุกะของรัฐบาล ซึ่ง ดร.ปรีดีได้อาศัยอยู่ในจีนถึง 21 ปีก่อนเดินทางไปพำนักที่ฝรั่งเศสและถึง แก่อสัญกรรม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2526

**** แม้ว่า ดร.ปรีดี จะหนีไปได้ แต่ผู้ที่มีส่วนร่วมหลายท่านกลับประสบชะตากรรมที่หนักหน่วงเอาการอยู่ เช่น พ.ต.อ. บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ผู้บังคับการตำรวจสันติบาลที่ถูกยิงตายขระเข้าทำการจับกุมที่บ้าน 4 อดีตรัฐมนตรีนาย ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ นายจำลอง ดาวเรือง และนายถวิล อุดล ที่เคยร่วมงานกับ ดร.ปรีดี ทั้ง ในงานเสรีไทย และรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล ก็ถูกจับ และถูกสังหารระหว่างการนำตัวไปขังคุก โดยอ้างว่าถูกลูกหลง ระหว่างการเข้าชิงตัวของกองโจรมลายู บริเวณที่เป็นจุดสังหารปัจจุบัน คือ ส.น.พหลโยธิน





All contents in this web site are intended for private use and educational purpose only. Our main objectives are to promote SamGler to cyberspace surfers and to memorize Por Intalapalit, one of the greatest writers in Thai fiction history.