มีข้อข้องใจอยากถาม
Home Page
samgler connection members information discuss library misc. web board contact us

กระดานสนทนาสามเกลอ (Read Only)



มีข้อข้องใจอยากถาม
ไม่ทราบว่าสมาชิกแต่ละท่านจะมีข้อสังเกตเหมือนผมหรือปล่าวคือว่า สามเกลอในตอน"วายร้ายแห่งนครหลวง"กล่าวถึง เอนยิเนียร์ ดังข้อความที่ผมจะคัดมาให้อ่านดังนี้
"เสือร้ายถอนหายใจโล่งอก หันมายิ้มกับนายท้ายและเอนยิเนียร์เรือแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสมุนเก่าแก่ของเขา แต่บัดนี้เลิกเป็นนักเลงแล้ว"
คำว่าเอนยิเนียร์เมื่อ ซัก50-60 ปีที่แล้วใช่ตรงกับความหมาย ว่าเป็นช่างเครื่องหรือช่างเทคนิคหรือปล่าวเนื่องจากว่า ปัจจุบันความหมายคือวิศวกร
ในขณะที่ช่างกลปทุมวัน(ปัจจุบันคือสถบันเทคโนโลยีปทุมวัน)ใช้คำว่า The First of Engineer กับโรงเรียน ซึ่งถ้าแปลตามความหมายก็คือ เป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ผลิตวิศวกร แต่ในความหมายเมื่อ 60 ปีที่แล้วคงหมายถึงช่างที่มีฝีมือเนื่องจากเป็นสถาบันแรกที่ผลิตช่างฝีมือไม่ได้ผลิตบัญฑิตวิศว ใช่หรือไม่ ใครมีความรู้ตอบที
ในขณะที่ ทางจุฬาเป็นสถาบันแรกที่ผลิตวิศวกร เพราะฉนั้น ตามที่ทาง ป.อินทรปาลิต กล่าวถึงคำว่าเอนยิเนียร์คงจะหมายถึงช่างมากกว่า ผู้รู้วานตอบที จ้า
โดยคุณ : อดิศร - [ 15 พ.ค. 2002 , 11:00:36 น. ]

ตอบ
คุณลองไปอ่านเรื่อง 80 รอบโลก จะพบว่าคำว่าเอนจิเนียรน่าจะหมายถึงคนไส่ฟืนในเรือน่ะ ไม่ใช่วิศวกรอย่างที่เราเข้าใจหรอกผมก็เคยสงสัยเหมือนคุณแหละ แต่พออ่านหนังสือหลายเล่มเลยเข้าใจว่าน่าจะแปลว่าคนใส่ฟืน ไม่ได้สูงส่งอย่างที่เราเข้าใจหรอกเป็นแค่กรรมกรน่ะ ขอโทษด้วยถ้าเข้าใจผิดน่ะ บางทีพอเปลี่ยนเวลาไปคำก็เปลี่ยนความหมายได้เหมือนกันเหมือนกับขอโทษน่ะคำว่า "กิมฮวย" ในภาษาจีนเป็นสิ่งที่ใช้ปักกระถางธูปเป็นของสูงไหงกลายมาเป็นคำด่าทอในภาษาไทยไปเสียได้ก็ไม่รู้งงจริงๆ
โดยคุณ : เจ้าคุณปัจจนึกพินาศ - [ 15 พ.ค. 2002 , 12:13:37 น.]

ตอบ
อือ เคยอ่านจากหนังสือชุดเหมืองแร่ของคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ คนใส่ฟืนเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์ เค้าเรียกกันว่า fireman นะ ส่วน เอ็นจิเนียร์เนี่ยน่าจะเป็นช่างเครื่อง ซึ่งในความหมายอาจจะไม่จำเป็นต้องจบวิศวะมา อาจจะจบช่างกล หรือไม่ได้จบอะไรเลแต่มีฝีมือในทางช่างเครื่องยนต์เค้าก็เรียกเอ็นจิเนียร์กันนะ
โดยคุณ : เกลียมัว - [ 15 พ.ค. 2002 , 20:26:46 น.]

ตอบ
น่าจะหมายถึงช่างเครื่องเรือธรรมดาครับ
คือเป็นผู้ควบคุมเครื่องเรือ เร่งเครื่อง เบาเครื่อง เดินหน้า ถอยหลัง
ส่วนกัปตันซึ่งก็คือคนขับเรือหรือนายท้ายนั่นเองมีหน้าที่หมุนพังงาเรือ (ก็พวงมาลัยแหละครับ) ไปซ้ายไปขวา แล้วก็ส่งสัญญาณไปให้เอ็นยิเนีย หรือ เอ็นทะเนียเรือ หรือช่างเครื่องเรือในห้องเครื่องให้เบาเครื่อง เร่งเครื่องไปตามเรื่อง
คิดว่าสมัยก่อนคำว่า เอ็นยิเนีย หรือ engineer เนี่ยน่าจะเหมารวมผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกไฟฟ้าก่อสร้างโยธาไปหมดไม่มีการแบ่ง ป.ว.ส
ป.ว.ช ให้วุ่นวายหรอกครับ คำว่า technician หรือช่างเทคนิค คงยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย สรุปว่าเรียกเหมาผู้รู้ผู้ชำนาญด้านช่างว่า เอ็นยิเนียไปหมดก็น่าจะเข้าใจได้ดี
สมัยที่โรงเรียนช่างกลต่างๆยังไม่เปลี่ยนเป็นโรงเรียนเทคโนโลยี มักจะใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Egineering School" ทั้งนั้น
คุณอดิศรเข้าใจถูกแล้วครับ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันเพิ่งผลิตบัณฑิตวิศวกรราศาสตร์ระดับปริญญาตรีเมื่อไม่นานมานี้เอง จึงใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Institue of Technology" เช่นเดียวกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และราชมงคล ขณะที่จุฬา นั้นผลิตมานานเต็นทน และเป็นแห่งแรกของเมืองไทย
โดยคุณ : ชายใหญ่ - [ 15 พ.ค. 2002 , 21:40:39 น.]

ตอบ
ลุง ป. เคยไปทำมาหากินล่องเรืออยู่พักนึงน่ะครับ เลยได้ประสบการณ์มา เผลอๆ น่าจะเคยทำตำแหน่งนี้ด้วย คือคอยคุมเครื่องยนต์ ในการเร่ง เดินหน้า ถอยหลังเรือ น่าจะรวมไปถึงการซ่อมแซมเครื่องยนต์เรือด้วย
โดยคุณ : ble3d - ICQ : 21526438 - [ 16 พ.ค. 2002 , 0:50:47 น.]

ตอบ
ผมว่าคำว่าช่างเครื่องน่ะตรงตัวมากกว่าเยอะเลย
Engine = เครื่องยนตร์
Engineer = คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเครื่องยนตร์

เนอะ
โดยคุณ : odda - [ 16 พ.ค. 2002 , 9:44:26 น.]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
ข้อความ




กรุณาคลิกที่ปุ่ม Post message เพียงครั้งเดียว 



All contents in this web site are intended for private use and educational purpose only. Our main objectives are to promote SamGler to cyberspace surfers and to memorize Por Intalapalit, one of the greatest writers in Thai fiction history.