กฎหมายลิขสิทธิ์วรรณกรรม ๕๐ ปีให้หลังเป็นของสาธารณะ ...จริงหรือ?
Home Page
samgler connection members information discuss library misc. web board contact us

กระดานสนทนาสามเกลอ (Read Only)



กฎหมายลิขสิทธิ์วรรณกรรม ๕๐ ปีให้หลังเป็นของสาธารณะ ...จริงหรือ?
อ่านเจอมา ก็ลอกเขามาให้อ่าน

"ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่ วรรณกรรมใดเมื่อผู้ประพันธ์เสียชีวิตไป 50 ปี จะต้องตกเป็นของแผ่นดิน เจตนาของกฎหมายจะเพื่อใคร
เพื่ออะไรก็ตาม กฎหมายนี้นำมาซึ่งความเศร้าเสียใจของนักเขียน และทายาทนักประพันธ์อย่างถ้วนทั่ว แต่อย่างไรกฎหมายก็คือกฎหมาย
แปลกแต่จริงก็คือ เมื่อมีกฎหมายออกมาแล้ว บุคคลที่นำเอาวรรณกรรมไปใช้ประโยชน์ สามารถนำเอาไปใช้ได้อย่างอำเภอใจ ไม่ต้องแจ้งทายาท
นั่นไม่ผิดกฎหมาย แต่การเอาไปใช้ประโยชน์แล้วต้มยำทำแกงกันเละเทะ ไม่เคารพบทประพันธ์ดั้งเดิม ไม่เคารพผู้ประพันธ์ที่กลั่นกรองเรื่องราว
มาจากชีวิตและเลือดเนื้อ แถมหน่วยงานของรัฐบาลก็ไม่มีหน่วยใดเข้ามาดูแล การ "ยำ" วรรณกรรมเอกของนักเขียนในอดีตจึงเกิดขึ้น

ด้วยเหตุนี้ กวี พึ่งบุญ ณ อยุธยา หลานชายของ ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา หรือ ไม้ เมืองเดิม แสนจะเกินทน จึงออกมาเต้นเพื่อป้องปราม
การกระทำอันเลวร้ายของนักฉวยโอกาส อีกทั้งเตือนและติงผู้ออกกฎหมายมาใช้ แล้วไม่ได้สนใจไยดีว่าผลตามมาจะเป็นอย่างไร
.........
แม้จะได้รับความนิยมอย่างสูง แต่จากปากคำของกวีแล้ว ค่าเรื่องสำหรับนักเขียนเหมือนอาภัพนัก เขียนออกมาก็ขายขาดให้กับสำนักพิมพ์แถวๆ
"เวิ้งนาครเขษม" ย่านนี้ใครนึกไม่ออกว่าอยู่ที่ไหนก็ให้นึกถึง "วังบูรพา" ไว้ก็แล้วกัน "ผมไม่มั่นใจว่าสำนักพิมพ์อะไร ซื้อเรื่องอะไรไปบ้าง
สำนักพิมพ์หนึ่งซื้อ ขุนศึก ส่วนเรื่องอื่นๆ นั้นเป็นของอีกสำนักพิมพ์หนึ่ง สองสำนักพิมพ์นี้นอกจากเอามาพิมพ์ขายจนเกินคุ้มแล้ว ยังขายให้กับ
คนสร้างหนัง สร้างละครอีกด้วย และสองสำนักพิมพ์นี้ซื้อต่อจากคุณเวช กระตุฤกษ์ เจ้าของเพลินจิตต์มาอีกต่อหนึ่ง"

...นึกถึงอดีตแล้ว ตัดมาภาพปัจจุบัน กวีบอกว่าถ้า ไม้ เมืองเดิม ยังมีชีวิตอยู่คงร้องไห้ เพราะอะไรนะหรือ ก็เพราะว่า "วรรณกรรมของไม้ เมืองเดิม
มีคนเอาไปทำประโยชน์หลายรายมาก มีทั้งทำพอคเก็ตบุ๊ค สร้างละคร สร้างหนังและหนังสือสามเล่ม เจ๊งก็มี สิ่งที่ผมกังวลและอยากจะบอกก็คือ
ช่วยดูให้ถูกต้อง บางรายคำนึงถึงเรื่องการค้ามากกว่าที่จะทำเพื่อ อนุรักษ์หรือชื่นชมผลงานอย่างที่แวดวงวรรณกรรมเขาพูดกัน แปดในสิบรายนั้น
ทำเพราะว่าชื่อของไม้ เมืองเดิม ขายได้ สังเกตให้ดีจะเห็นว่า หนังสือนั้นจะพิมพ์ช่วงที่เขาเอาเรื่องไปทำหนังทำละคร เขาจะพิมพ์อย่างไรก็พิมพ์ได้
เพราะลิขสิทธิ์ตกกับแผ่นดินไปแล้ว แต่บางรายเห็นแก่ผลประโยชน์เชิงการค้ามากเกินไป เห็นว่าเรื่องเดียวพิมพ์เล่มเดียวได้น้อยเกินไป
แยกพิมพ์เป็นสามเล่ม เอาชื่อบทมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง คนอ่านสับสนตายเลย ไม่รู้เรื่องอะไรเป็นอะไรแน่ อย่างนี้ไม่น่าทำ มันเป็นการทำลายมากกว่าอนุรักษ์"
แสดงว่า "เขาไม่ได้เชิดชูวรรณกรรมของไม้ เมืองเดิม เขาทำไม่ถูกต้อง ไม่เคารพผู้ประพันธ์ อย่างนี้เด็กรุ่นหลังก็จะเข้าใจผิด
เพราะเขาไม่รู้จักไม้ เมืองเดิม ว่าคือใคร เขาอ่านจบแล้วก็ไม่รู้เรื่อง เพราะทำกันเลอะเทอะไปหมด"

เกี่ยวกับกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ กวีบอกว่า "อยากให้มีหน่วยงานมารองรับด้วย ไม่ใช่ผู้เขียนตายครบ 50 ปีแล้วเรื่องที่เขียนตกเป็นของสาธารณะ
ใครจะทำอย่างไรก็เอาไปทำกันเลอะเทอะ... ผมไม่เน้นว่าประโยชน์ตกเป็นของใคร แต่อยากจะให้มีหน่วยงานมารองรับว่าถ้าใครอยากพิมพ์
ก็ไปขออนุญาตก่อนจากหน่วยงานไหนก็ให้ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องมีระเบียบที่ซับซ้อน แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานว่าอย่าไปทำให้
เรื่องเขาเสียหาย ให้ถูกต้องตามต้นฉบับเดิมเขา จะทำหนัง ละคร ก็เหมือนกัน การดัดแปลง ดัดแปลงแค่ไหน เพียงใด กี่เปอร์เซ็นต์ การตัด
การเติมควรอยู่ในกรอบของมัน..."

อดกังขาไม่ได้ว่า "เมื่อรัฐบาลออกกฎหมายตรงนี้มาแล้ว ทำไมซื่อบื้อจัง ไม่มีหน่วยงานอะไรมารองรับเลย สมบัติเป็นของนักเขียนทุกคน เมื่อครบ 50 ปี
เป็นของแผ่นดินเลย แล้วแผ่นดินมันคือใคร มันเป็นนามธรรม ไม่มีรูปธรรม ต้นฉบับจึงออกมาเลอะเทอะ แม้แต่วรรณกรรมดีๆ ของชาติ
ก็มายำกันเลอะเทอะไปหมด นึกจะมาทำหนัง ละคร ดูแล้วเศร้าใจ"

มองไปทางผู้ตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน "นักเขียนดังๆ ของเมืองไทยมีหลายคน อย่างยาขอบ ลิขสิทธิ์เป็นของพี่นะหรือเปล่า (มานะ แพร่พันธุ์) ก็ไม่มี ไม่ได้ ...
แน่นอนเหลือเกินว่า ไม่ว่าจะเป็นทายาทของใคร ต้องตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน คือเสียลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะไป แต่คำว่าสาธารณะนั้นแท้จริง
เป็นสาธารณะจริงๆ หรือไม่ มีใครแสดงความเป็นเจ้าของครอบครองอยู่ด้วย-หรือไม่ พฤติกรรมของสำนักพิมพ์ต่างๆ ที่จัดพิมพ์ย่อมประกาศตัวเองอยู่แล้ว
ย่อมอยู่กับนักอ่านแล้วว่าจะรักษ์และส่งเสริมวรรณกรรมอมตะอย่างไร ส่วนคนเขียนกฎหมายนั้นไม่ต้องพูดถึง ทุบโต๊ะพิพากษาแล้ว...หายเลย ‘



วรรณกรรมของนักเขียนดังในอดีต กำลังทยอยตกเป็นของแผ่นดิน เหตุให้มีผู้นำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
แต่น้อยรายนักที่เคารพผู้ประพันธ์ ผลงานของไม้ เมืองเดิม เป็นกรณีหนึ่งที่ทายาททนไม่ได้ต้องออกมาโวย
....................
สัจภูมิ ละออ : รายงาน


***********อ่านเจอมา เลยcopy บางส่วนมาให้อ่านกัน นึกถึงกระทู้เก่าๆที่เคยคาดหวังว่าสักวันหนึ่งเมื่อลิขสิทธิ์การเผยแพร่สามเกลอของคุณป.อินทปาลิตจะตกเป็นของสาธารณชน ..เราจะได้อ่านสามเกลอกันมากขึ้น
แต่..กว่าจะถึงวันนั้น วรรณกรรมดีๆหลายชิ้นก็คงไม่พ้นเป็นอาหารมดปลวก
ส่วนที่หลุดรอดมาได้ ก็ไม่รู้จะมีคุณค่าเทียบเคียงต้นฉบับได้แค่ไหน
อ่านประโยคที่ว่า "...อย่างนี้เด็กรุ่นหลังก็จะเข้าใจผิด
เพราะเขาไม่รู้จักไม้ เมืองเดิม ว่าคือใคร เขาอ่านจบแล้วก็ไม่รู้เรื่อง เพราะทำกันเลอะเทอะไปหมด " ก็รู้สึกใจหายยังไงไม่รู้
เพราะตอนนี้ก็มีหลายตอนของสามเกลอที่ต้นฉบับคงขาดๆหายๆ แล้วสนพ.ก็แต่งเดิมเข้าไปจนอ่านไม่รู้เรื่อง เฮ้อๆๆๆ

ถ้าอยากอ่านเต็มๆก็ไปอ่านได้ที่ กรุงเทพธุรกิจ ฉ.วันเสาร์ที่ ๗ กรกฎานี้ หรือ http://www.bkknews.com/jud/wan/20010702/cover.html
โดยคุณ : บอร์น - [ 7 ก.ค. 2544 , 2:48:30 น. ]

ตอบ
อืมนะ น่าสนใจ ว่าแต่คุณ born เข้าห้องแชทแล้วออกไปไหนแล้วครับ ผมเข้าไปแล้วไปกินน้ำกลับมาหายไปซะแล้ว ยังหาคนคุยด้วยอยู่นา
โดยคุณ : เกลียมัว - [ 7 ก.ค. 2544 , 2:59:39 น.]

ตอบ
อย่างนี้ต้องร่วมกันล่ารายชื่อ 20,000 คนเสนอให้
แก้กฎหมาย ร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อรังสรรค์วงศ์
วรรณกรรมไทย นะจ๊ะ...
โดยคุณ : หมูตกมัน - [ 7 ก.ค. 2544 , 10:27:46 น.]

ตอบ
อ่านแล้วใจหาย จริงอย่างที่คุณกวีเธอให้ความเห็นนะว่าควรคุ้มครองต้นฉบับให้สมบูรณ์ ในการนำออกพิมพ์ใหม่ การสร้างภาพยนต์ สร้างละครเพื่อให้บทประพันธ์ไม่ถูกยำให้เละเทะเหมือนทุกวันนี้ แต่ที่เห็นนะละคร 95% จะเปลี่ยนเนื้อเรื่อง บทละคร หรือแม้แต่เจตนาของผู้ประพันธ์ว่าต้องการจะบอกอะไรหรือสื่ออะไรให้ผู้อ่านหรือผู้ชมได้รู้ได้เข้าใจในเนื้อเรื่องนั้น ที่เห็นชัดเจนแล้วอยากจะขอติเรื่องอตีตาน่ะ ถ้าอ่านบทประพันธ์ของทมยันตีกับดูละครมันคนละเรื่องกันเลย เซ็งมากๆ
โดยคุณ : เจี๊ยบstj - [ 7 ก.ค. 2544 , 20:03:54 น.]

ตอบ
เรื่องนี้เป็นการนำเอาบรรทัดฐานของชาติตะวันตกมาใช้ เพราะนักเขียนของต่างชาตินั้น เขาจะได้รับสวัสดิการและการคุ้มครองสิทธิหลายอย่าง อีกทั้งอาชีพนักเขียนของชาวตะวันตกนั้น เป็นอาชีพที่มีเกียรติ (ไม่ได้หมายความว่านักเขียนชาวตะวันออกไม่มีเกียรตินะครับ) เพียงแต่ว่าการได้รับการปฏิบัติหรือการยอมรับนั้น เขาให้เกียรติกับนักเขียนมากกว่า แต่ประเทศไทยเรานั้น คำว่านักเขียนย่อมมาคู่กับคำว่าไส้แห้งอยู่เสมอ และถ้าไม่ใช่ดาราหรือเจ๋งจริง ก็คงไม่สามารถสร้างความฮือฮาให้กับวงการได้ อีกอย่างหนึ่ง ถ้าใช้กฎหมายนี้ ตีความด้วยกรอบของประเพณีไทย น่าจะให้เกียรติกับครอบครัวของนักเขียนนะครับ เมื่อสิ้นนักเขียนไปแล้ว บุตร ลูกหลานของเขาน่าจะเป็นผู้ดูแลมรดกทางวัฒนธรรมนั้นๆ ต่อไป และถ้าลูกหลานดูแลได้ไม่ดีหรือไม่ได้เรื่องแล้ว เราคงจะไปว่าเขาไม่ได้ แต่ถ้าสำนักพิมพ์ฉวยโอกาสไปล่ะก็ ว่าได้แน่นอนครับ
โกจัง
โดยคุณ : โกจัง - [ 9 ก.ค. 2544 , 16:55:12 น.]

ตอบ
ก็อยากรู้จังว่าถ้าตกเป็นของกลางแล้วใครจะเป็นผู้พืมพ์ออกมาให้เราได้อ่านกัน เพราะพวกที่ได้ไปก็คงอยากได้เงินเหมือนกัน มัวแต่แย่งว่าใครจะได้พิมพ์ก็พอดีประขาขนก็ไม่ได้อ่าน
โดยคุณ : งง - [ 14 ก.ค. 2544 , 10:17:01 น.]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
ข้อความ




กรุณาคลิกที่ปุ่ม Post message เพียงครั้งเดียว 



All contents in this web site are intended for private use and educational purpose only. Our main objectives are to promote SamGler to cyberspace surfers and to memorize Por Intalapalit, one of the greatest writers in Thai fiction history.