เกี่ยวกับกับคำว่า "เชย" ครับ
Home Page
samgler connection members information discuss library misc. web board contact us

กระดานสนทนาสามเกลอ (Read Only)



เกี่ยวกับกับคำว่า "เชย" ครับ
ผมสงสัยว่าถ้าคำว่า เชย นั้นมาจากชื่อของลุงเชย แล้วคำว่า ชมเชย ล่ะครับ มีส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ไหม หรือเป็นแค่คำซ้อนเสียงธรรมดาๆครับ
โดยคุณ : Beatles - [ 29 พ.ย. 2543 , 22:31:04 น. ]

ตอบ
อือ ผมเดาว่าชมเชยนั้นมีอยู่ก่อนแล้วนะครับ ส่วนคำว่าเชย นี้เอามาจากชื่อของลุงเชย คนเลยคิดว่า เชย = เปิ่น

นักภาษาศาสตร์ช่วยตอบหน่อยนะ
โดยคุณ : กิมเอ๋ง - [ 29 พ.ย. 2543 , 22:49:37 น.]

ตอบ
สงสัยต้องให้จารย์แม่มาตอบ
โดยคุณ : ble3d - ICQ : 21526438 - [ 29 พ.ย. 2543 , 23:30:00 น.]

ตอบ
คำว่า "เชย" มีความหมายใน sense เกี่ยวกับความไม่ทันสมัย เป็นผลให้เกิดความไม่รู้เท่าทันวิทยาการใหม่ๆ หรือเหตุการณ์ใหม่ๆ ในบางเรื่อง และเป็นที่มาของความเปิ่น (ซึ่งคำศัพท์คำนี้ นำมาจากลักษณะของลุงเชยในสามเกลอนี่แหละ) ส่วนคำว่า "ชมเชย" น่าจะเป็นคำซ้อนธรรมดา เนื่องจากภาษาไทย เป็นภาษาที่มีลักษณะของการซ้อนเสียงเพื่อให้เกิดคำที่มีความสละสลวยในภาษาเป็นปกติอยู่แล้ว ส่วนจะเรียกว่าคำซ้อนอะไร อันนี้ก็ต้องขอประทานโทษที่จำไม่ได้จริงๆ เพราะว่ามีศัพท์เฉพาะหลายอย่างเหลือเกิน จำได้แต่คำซ้ำน่ะ เช่น คำซ้ำอุจารณวิลาส เป็นการซ้ำคำแบบที่เห็นในคำพูดของคนบ้าในสามเกลอบางคำ เช่น บันดงบันได ฝังสงฝังเสา หรือ นิทานนิเทิน เป็นต้น ก็อย่าฟ้องครูแล้วกันนะ นะ นะ
ตอบซะยาวเลย แต่ไม่ค่อยตรงคำถาม ยังไงก็รบกวนนักภาษาศาสตร์ตัวจริงมาตอบให้กระจ่างหน่อยนะ
โดยคุณ : นักภาษา(ประ)สาท - [ 30 พ.ย. 2543 , 8:35:21 น.]

ตอบ
ขอมองต่างมุมครับ
ผมไม่ถือว่า เชย ใน ชมเชย เป็นคำซ้ำลักษณะอุจจารณวิลาสดังที่คุณนักภาษาฯ ว่า (เห็นบางตำราเรียกอุทานเสริมบท) อย่าง บันดงบันได นิทานนิเทิน น่ะใช่ บันดงไม่มีความหมาย (ยกเว้นว่าจะเถียงว่าเป็นชื่อเมืองในชวา... แต่คนพูดก็ไม่รู้หรอกครับว่าเผอิญมีเมืองชื่อนี้จริงๆ) และนิเทินก็ไม่มีความหมาย แต่ เชย มีความหมายของมันเองอยู่แล้วครับ ที่ไม่ใช่แปลว่าเปิ่นด้วย นั่นเป็นความหมายสมัยหลัง
เชย แปลว่าช้อนขึ้นมา ยกขึ้นมา (เพื่อจะชมดูใกล้ๆ) ก็ได้ "เชยคางขึ้นมาชม (ใบหน้าเธอ)" คำว่าเชยก็มีความหมาย เป็นกริยา และความหมายในกรณีนี้เสริมกริยา ชม เสียด้วย
พจนานุกรมราชบัณฑิตฯ ฉบับปัจจุบันยังเก็บคำนี้ไว้หรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่ฉบับปี 2496 เก็บคำว่า เชย ในความหมายเดิมไว้ว่า สัมผัสเบาๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่/ ช้อนขึ้นเบาๆ ด้วยความเอ็นดูรักใคร่ เช่น เชยแก้ม เชยคาง/ โปรยลงมาชั่วคราว (สำหรับฝน) /พัดมาเฉื่อยๆ (สำหรับลม) และให้ความหมายของ เชยชม ว่า จับต้องดู สรรเสริญ ยกย่อง เล้าโลม จูบกอด ครับ
โดยคุณ : อภิรัตน์ - [ 1 ธ.ค. 2543 , 21:43:58 น.]

ตอบ
ขอบคุณคุณอภิรัตน์มากเลยอ่ะ แต่อยากจะเรียนว่า ไม่ได้บอกว่า "ชมเชย" เป็นคำซ้ำอุจารณวิลาสนี่นา ลองอ่านดูดีๆ อีกทีได้ไหม นะ นะ เราแค่บอกว่าเราจำคำซ้อนลักษณะนี้ไม่ได้ว่าเรียกว่าอะไร จำได้แต่ลักษณะคำซ้ำที่ยกตัวอย่างไว้ ว่าเรียกว่าคำซ้ำ อุจารณวิลาสตะหาก คำซ้ำ กะ คำซ้อน มันคนละเรื่องกันอยู่แล้วนี่นา : D
โดยคุณ : นักภาษาฯ - [ 4 ธ.ค. 2543 , 8:08:59 น.]

ตอบ
ครับ ครับ รับทราบครับ
ในคำตอบของคุณอันเดิม คุณนักภาษาฯ ก็เขียนได้ไม่ค่อยตรงกับคำถามจริงๆ อย่างที่คุณเขียนไว้เองแหละครับ ผมเลยเข้าใจผิด ขออภัย
โดยคุณ : อภิรัตน์ - [ 12 ธ.ค. 2543 , 18:13:49 น.]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
ข้อความ




กรุณาคลิกที่ปุ่ม Post message เพียงครั้งเดียว 



All contents in this web site are intended for private use and educational purpose only. Our main objectives are to promote SamGler to cyberspace surfers and to memorize Por Intalapalit, one of the greatest writers in Thai fiction history.