ม. ปาวีร์ คือใคร?
Home Page
samgler connection members information discuss library misc. web board contact us

กระดานสนทนาสามเกลอ (Read Only)



ม. ปาวีร์ คือใคร?
ผมได้อ่านตอน ไปรบเวียงจันทร์ แล้วมีการพุดถึง ม. ปาวีร์ ผมอยากทราบว่าเขาเป็นใครและเกี่ยวพันอย่างไรกับการรบเพื่อแย่งดินแดนคืนครับ
โดยคุณ : นายไก่นา - [ 10 ก.ค. 2543 , 9:22:04 น. ]

ตอบ
เท่าที่รู้มา
ม. ปาวี คือเอกอัคราชฑูตฝรั่งเศสประจำบางกอกในสมัยนั้น
ครั้งหนึ่ง เคยได้รับการช่วยเหลือจากทางการไทย รอดชีวิตมาจากพวกจีนฮ่อ แต่แล้วคุณคนนี้ก็ลืมบุญคุณ เป็นเจ้ากี้เจ้าการให้สยามประเทศส่งมอบดินแดนให้ฝรั่งเศสโดยไร้เหตุผล
ครั้งนั้นประเทศสยามเสียดินแดนไปเกือบครึ่งประเทศ คือ เดิมมีอยู่ 980,947 ตร.กม.
เสียให้มันไป 467,500 ตร.กม.
เหลือ 513,447 ตร.กม. เท่าทุกวันนี้
อ้างอิงจาก หนังสือ เกร็ดสนุกในอดีต
โดยน.พ.วิบูล วิจิตรวาทการ
โดยคุณ : เตมูจิน - [ 10 ก.ค. 2543 , 9:22:52 น.]

ตอบ
มองสิเออ ออกุสต์ ปาวี มีตัวตนจริงครับ เป็นนักการทูตฝรั่งเศสสมัยนั้น (เข้าใจว่าไม่ได้เป็นตำแหน่งสูงถึงเอกอัครราชทูต สมัยนั้นฝรั่งหลายชาติถือว่าสยามเป็นประเทศเล็ก ไม่คู่ควรกับการมีเอกอัครราชทูตมาประจำ อาจจะเป็นแค่อัครราชทูตเป็นอย่างสูง ไทยเราเพิ่งจะรับทูตระดับชั้นเอกอัครราชทูตและส่งทูตไทยในระดับเอกอัครราชทูตไปประจำต่างประเทศเมื่อสักสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เอง)
ม.ปาวี มาทำงานแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นานวีรเวรวีรกรรมของแกอยู่ช่วง ราวๆ ร.6-ร.7ต่อต้น ร.8 ครับ ที่เป็นเจ้ากี้เจ้าการให้ไทยต้องเสียดินแดนไปไงครับ
โดยคุณ : Apirat - [ 10 ก.ค. 2543 , 9:23:26 น.]

ตอบ
ขอเสริมคุณApirat โดยเจอข้อความจากหนังสือ ชีวิต5แผ่นดินของข้าพเจ้า โดย พลโทประยูร ภมรมนตรีว่า"มองซิเอรอร์ปาวี อัครราชฑูตเป็นตัวตั้งตัวตี โดยมองซิเออร์ผู้นี้ทางราชการได้จ้างมาทำแผนที่ในประเทศ เคยถูกพวกจีนฮ่อทำร้ายในเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้ช่วยชีวิตไว้ เลยสนองพระคุณสำรวจดินแดนทำแผนที่ทั้งปวงให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นมูลฐานประกอบการยึดดินแดน" เลวจริง ๆ (ผมเสริมเอง)
โดยคุณ : นิดหน่อย - [ 30 ต.ค. 2543 , 22:55:13 น.]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
ข้อความ




กรุณาคลิกที่ปุ่ม Post message เพียงครั้งเดียว 



All contents in this web site are intended for private use and educational purpose only. Our main objectives are to promote SamGler to cyberspace surfers and to memorize Por Intalapalit, one of the greatest writers in Thai fiction history.